Thursday, October 7, 2010

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดปัตตานี


มัสยิดกลางปัตตานี

ตั้งอยู่ที่ถนนยะรัง เส้นทางยะรัง-ปัตตานี ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ซึ่งสร้างในปี พ.ศ. 2497




มัสยิดกรือเซะ

ตั้งอยู่ริมถนนสายปัตตานี-นราธิวาสหรือทางหลวงแผ่นดินสาย 42 บริเวณบ้านกรือเซะ






ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวหรือศาลเจ้าเล่งจูเกียง

ตั้งอยู่ที่ถนนอาเนาะรู เป็นศาลที่ประดิษฐานรูปแกะสลักของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว




หาดตะโละกาโปร์

ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองปัตตานีตามทางหลวงหมายเลข ๔๒ (ปัตตานี-นราธิวาส) เลี้ยวซ้ายเข้าอำเภอยะหริ่ง ข้ามคลองยามูตามสะพานคอนกรีตขนาดใหญ่ ผ่านพื้นที่สวนป่าชายเลนและหมู่บ้านไปจนถึงทางแยกเข้าสู่หาด รวมระยะทางประมาณ ๑๘ กิโลเมตร



แหลมตาชี หรือ แหลมโพธิ์

เป็นหาดทรายขาวต่อจากหาดตะโละกาโปร์ เกิดจากการก่อตัวของสันทรายที่ยื่นออกไปในทะเลในลักษณะสันดอนจะงอย

Wednesday, October 6, 2010

การเดินทางจังหวัดปัตตานี

ปัตตานีอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 1,055 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางสู่จังหวัดปัตตานีได้หลายวิธี ทั้งทางรถยนต์ส่วนตัว รถประจำทาง รถไฟ และเครื่องบิน

การเดินทางไป ปัตตานี

โดยรถไฟ:
มีรถไฟออกจากสถานีหัวลำโพงไปถึงสถานีโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690 www.railway.co.th

จากสถานีโคกโพธิ์เข้าไปยังตัวเมืองปัตตานี ระยะทาง 29 กิโลเมตร เดินทางโดยรถสองแถวหรือรถแท็กซี่ ซึ่งจอดอยู่หน้าสถานีรถไฟ

โดยรถยนต์:
จากกรุงเทพฯ ไปปัตตานีโดยใช้ทางหลวงหมายเลข 35 (ธนบุรี-ปากท่อ) ระยะทาง 90 กิโลเมตร แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 4 จนถึงจังหวัดชุมพร จากนั้นจึงใช้ทางหลวงหมายเลข 41 หรือ 42 ผ่านจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปากน้ำเทพา เข้าสู่ตัวเมืองปัตตานี

โดยรถประจำทาง:
มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด และของเอกชน สายกรุงเทพฯ-ปัตตานี ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 15 ชั่วโมง

สอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร.1490 www.transport.co.th

ปัจจุบันบริษัท ขนส่ง จำกัด ได้เปิดให้บริการจองตั๋วรถโดยสารออนไลน์แล้ว ติดต่อได้ที่ www.thaiticketmajor.com

โดยเครื่องบิน:
ไม่มีเที่ยวบินตรงจากกรุงเทพฯ ต้องนั่งเครื่องบินไปลงที่หาดใหญ่ แล้วต่อรถโดยสารสายหาดใหญ่-ปัตตานี หรือใช้บริการแท็กซี่จากท่าอากาศยานหาดใหญ่ ระยะทางจากหาดใหญ่ถึงปัตตานีประมาณ 104 กิโลเมตร

สายการบินที่ให้ บริการเส้นทางกรุงเทพฯ-หาดใหญ่ คือ การบินไทย โทร. 0 2356 1111 หรือ www.thaiairways.com ไทยแอร์เอเชีย โทร. 0 2515 9999 หรือ www.airasia.com นกแอร์ โทร. 1318, 0 2900 9955 www.nokair.com วันทูโก โทร. 1126, 0 2229 4100-1 www.fly12go.com

การเดินทางภายใน ปัตตานี

ใน ตัวเมืองปัตตานีมีรถโดยสารประจำทางไปยังอำเภอต่างๆ ได้อย่างสะดวก นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการยานพาหนะได้หลายรูปแบบตามอัธยาศัย สอบถามรายละเอียดได้ที่สถานีขนส่งปัตตานี โทร. 0 7334 8816

ระยะทางจากอำเภอเมืองปัตตานีไปยังอำเภอต่างๆ คือ

อำเภอหนองจิก 8 กิโลเมตร

อำเภอยะรัง 15 กิโลเมตร

อำเภอยะหริ่ง 15 กิโลเมตร

อำเภอโคกโพธิ์ 29 กิโลเมตร

อำเภอมายอ 29 กิโลเมตร

อำเภอปะนาเระ 45 กิโลเมตร

อำเภอทุ่งยางแดง 46 กิโลเมตร

อำเภอสายบุรี 50 กิโลเมตร

อำเภอแม่ลาน 53 กิโลเมตร

อำเภอกะพ้อ 65 กิโลเมตร

อำเภอไม้แก่น 67 กิโลเมตร

Tuesday, October 5, 2010

ข้อมูลทั่วไปจังหวัดปัตตานี


"บูดูสะอาด หาดทรายสวย รวยน้ำตก นกเขาดี ลูกหยีอร่อย หอยแครงสด"

ปัตตานีคือจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพียบพร้อมด้วยแหล่งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เช่น มัสยิดกรือเซะ สุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ฯลฯ และพื้นที่ธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ ทั้งผืนป่า สายน้ำ และท้องทะเล นับเป็นอีกจังหวัดที่งดงามด้วยวิถีชีวิตของผู้คนและสภาพภูมิประเทศ สมกับความยิ่งใหญ่ในฐานะเมืองหลวงของอาณาจักรลังกาสุกะ ซึ่งเป็นอดีตอาณาจักรเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียอาคเนย์

จังหวัดปัตตานีมีเนื้อที่ประมาณ 2,052 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กเป็นอันดับ 2 ของภาคใต้ (อันดับ 1 คือภูเก็ต) พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การเพาะปลูก มีภูเขาสำคัญคือภูเขาทรายขาว ซึ่งอยู่ในเทือกเขาสันกาลาคีรี มีแม่น้ำสำคัญ 2 สาย คือ แม่น้ำตานีและแม่น้ำสายบุรี

ปัตตานีเป็นดินแดนเก่าแก่ซึ่ง ได้สั่งสมความรุ่งเรืองมายาวนาน มีชื่อปรากฏอยู่ในเอกสารโบราณหลายฉบับ เช่น ตานี ปะตานี ฟาฏอนี โฝตาหนี ต้าหนี่ เป็นต้น ด้วยทำเลที่ตั้งติดกับทะเล มีอ่าวที่สามารถบังคลื่นลมได้ดี อีกทั้งยังมีเส้นทางบกและเส้นทางแม่น้ำเชื่อมต่อกับด้านมหาสมุทรอินเดีย รวมถึงการที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ปัตตานีจึงเป็นเมืองท่าค้าขายกับเมืองอื่นๆ บนคาบสมุทรมลายูที่เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่ง การเป็นเมืองท่าเช่นนี้ยังทำให้ปัตตานีได้รับอารยธรรมจากชนชาติต่างๆ ที่เข้ามาติดต่อค้าขาย ซึ่งต่อมาได้ผสมผสานกับวัฒนธรรมดั้งเดิม กลายเป็นวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะมาจนถึงทุกวันนี้

นักประวัติ ศาสตร์และนักโบราณคดีเชื่อว่า ดินแดนที่เป็นปัตตานีในปัจจุบัน คือที่ตั้งของอาณาจักรลังกาสุกะ ซึ่งรุ่งเรืองมาตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 7 โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองโบราณยะรังในปัจจุบัน จนถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 ลังกาสุกะจึงเริ่มเสื่อมลง เพราะชายฝั่งทะเลตื้นเขิน แม่น้ำเปลี่ยนทางเดิน อีกทั้งอาณาจักรมะละกาทางตอนใต้ยกกำลังมาโจมตีหลายครั้ง กระทั่งถึงพุทธศตวรรษที่ 21 ลังกาสุกะก็ล่มสลายลง โดยมีเมืองท่าแห่งใหม่ชื่อปะตานีเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาแทน และเป็นศูนย์กลางการศึกษาและเผยแผ่ศาสนาอิสลามที่สำคัญในภูมิภาคนี้

ล่วง เลยมาถึง พ.ศ. 2351 ปัตตานีแบ่งการปกครองออกเป็น 7 หัวเมือง คือ เมืองตานี ยะหริ่ง หนองจิก สายบุรี ระแงะ รามันห์ และยะลา ครั้นถึง พ.ศ. 2449 ปัตตานีแยกมาตั้งเป็นมณฑล จนถึง พ.ศ. 2475 มณฑลปัตตานีก็ถูกยุบไปรวมกับมณฑลนครศรีธรรมราช กระทั่งถึง พ.ศ. 2476 จึงได้รับการยกฐานะเป็นจังหวัดปัตตานี จวบจนถึงปัจจุบัน

จังหวัด ปัตตานีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปัตตานี อำเภอโคกโพธิ์ อำเภอมายอ อำเภอหนองจิก อำเภอปะนาเระ อำเภอสายบุรี อำเภอยะรัง อำเภอยะหริ่ง อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอไม้แก่น อำเภอกะพ้อ และอำเภอแม่ลาน